|
|

  
 |
ชุมชนหนองกุลาก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2450 มีประวัติความเป็นมาที่ได้เล่าขานสืบต่อๆกันมาคือ
ชุมชนแรกที่มาอาศัยอยู่เดิมมาประกอบอาชีพหาของป่า เลื่อนลอย ต่อมามีชนเผ่าหนึ่งชื่อว่าเผ่า "กุลา" ได้ใช้ม้าต่าง
ลาต่าง เดินทางร่อนเร่พเนจรมาหาของป่า และแวะพักแรมกันอยู่รอบๆ หนองน้ำแห่งหนึ่งในหมู่บ้าน พอรุ่งเช้าชาวเผ่ากุลา
ก็จากไปทิ้งร่องรอยเพียงซากกองไฟไว้เป็นอดีต |
|
|
ต่อมาชาวบ้านจึงเรียกหนองน้ำนั้นว่า “หนองกุลา” และเรียกชื่อหมู่บ้านตาม
ชื่อหนองน้ำว่า "บ้านหนองกุลา"
อีกนัยหนึ่ง จากคำเล่าเมื่อครั้งก่อนมาชาวบ้านบึงพิงปัจจุบันคือ บ้านบึงหนองไผ่ ได้มาอาศัยทำมาหากิน
ที่หมู่บ้านนี้โดยเมื่อครั้งนั้นยังเป็นป่ารก ชาวบ้านจากบ้านบึงพิงจะมาอาศัยทำมาหากินตอนฤดูฝนและฤดูหนาว
พอถึงฤดูแล้งมักจะเกิดไฟป่าอยู่เป็นประจำทำให้ชาวบ้านต้องอพยพเลิกรากลับไปยังบ้านบึงพิงและเหตุการณ์ดังกล่าวนี้
จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกๆปี เมื่อถึงฤดูแล้งชาวบ้านก็จะเลิกรากลับไปทุกที เลยเรียกกันติดปากว่า "กูลา" "หนองกูลา"
และจากคำเล่าต่อๆมาอีกนัยหนึ่งก็คือ ชาวบ้านครอบครัวแรกที่เข้ามาทำมาหากินที่หมู่บ้านนี้ คือครอบครัวของ
นายลา ซึ่งบุกเบิกถางป่าเพื่อทำมาหากินและต่อมานายลาก็เสียชีวิตที่บริเวณหนองน้ำ ชาวบ้านเลยเรียกหมู่บ้านนี้ว่า
"บ้านหนองกุลา" ชุมชนเผ่าดั้งเดิมอพยพมาจากบ้านปลักแรด(ตำบลปลักแรดอำเภอบางระกำในปัจจุบัน)มาสร้างเพิงพักอาศัย
เป็นการชั่วคราวอยู่ตามริมหนองน้ำ ด้วยความลำบากในการเดินทางไป - กลับ หลายคนจึงคิดปลูกกระท่อมกึ่งถาวรขึ้น
ต่อมาก็กลายเป็นชุมชนขนาดย่อมและขยายใหญ่ขึ้นตามลำดับ และพวกเขาได้เลือกผู้นำชุมชนของเขาขึ้นเองเพราะสะดวก
แก่การปกครองดูแล ผู้นำของเขาได้พระราชทานยศว่า "ขุนเกื้อกุลารักษ์"
นายสำราญ พัฒแหวว อายุ 81 ปี อดีตกำนันบ้านหนองกุลาเล่าว่า เดิมทีเดียวหมู่บ้านหนองกุลามีหวายมากมาย
และของป่าหลากหลายชนิดด้วยกัน จึงมีการเก็บภาษีเข้าหลวงดังคำกล่าวที่ว่า หวายน้ำหวายขม หวายโป่ง
(ควงสำหรับหวายเรียกว่าหวายชุด) ลานขี้ไต้ เก็บภาษีหวาย ภาษีส่วย ระกา ทุกปี
หมายเหตุ ม้าต่าง คือม้าที่ใช้บรรทุกสินค้าโดยมีเชือกหรือผ้า ยกห่อ/มัดของแล้วพาดหลังลงด้านข้าง 2 ข้างเท่าๆกัน
ลาต่างก็เช่นกัน |
|
|
|

  
 |
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุลาตั้งอยู่ตำบลหนองกุลา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
มีพื้นที่ทั้งหมด 81,969 ไร่ คิดเป็น 131.15 ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|

  
 |
สัญลักษณ์ของตำบลหนองกุลา เป็น รูปฐานขุดเจาะน้ำมันกับรวงข้าว
ซึ่งมีความหมายดังนี้ |

 |
ฐานขุดเจาะน้ำมัน หมายถึง มีน้ำมันเป็นทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ |

 |
รวงข้าว หมายถึง มีการทำเกษตรกรรมในพื้นที่ |
|
|
|
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ตำบลนิคมพัฒนาและตำบลบึงกอก |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
จังหวัดพิจิตรและอำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ตำบลบึงกอก ตำบลปลักแรด และตำบลพันเสา |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร |
|
|
|
    |
|


 |
|
|
|
|
|

  
 |
เป็นที่ราบ มีลักษณะพื้นที่ลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีคลองหนองตะกุด คลองลานตาช้าง
และคลองพระรถ เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1065 (พิษณุโลก – กำแพงเพชร)
ผ่านพื้นที่ตอนกลางในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้
|
|
|
|
|

  
 |
มี 3 ฤดู ได้แก่ |

 |
ฤดูร้อน |

 |
ฤดูฝน |

 |
ฤดูหนาว |
|
|
|
|

  
 |
ราษฎรมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการทำเกษตรกรรม (ทำนาและทำไร่อ้อย) คือ 90 % และอื่น ๆ 10 %
ตำบลหนองกุลา ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 25,000 บาท/ปี ส่วนใหญ่เป็นรายได้ที่ได้จากการทำเกษตรกรรม ส่วนระบบเงินฝากและ
สินเชื่อร้อยละ 90 จะขึ้นกับธนาคาร ธกส.และเงินกองทุนหมู่บ้าน |
|
|
|


 |
|
|
|

  
 |
จำนวนประชากรทั้งหมด 14,515 คน แยกเป็น |

 |
ชาย จำนวน 7,182 คน |
คิดเป็นร้อยละ 49.48 |

 |
หญิง จำนวน 7,333 คน |
คิดเป็นร้อยละ 50.52 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 4,821 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 110.67 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
1 |
|
หนองกรับ |
182 |
180 |
362 |
135 |
|
 |
2 |
|
หนองไผ่ |
462 |
472 |
934 |
328 |
 |
|
3 |
|
ดงกวาง |
475 |
472 |
947 |
300 |
|
 |
4 |
|
หนองกุลา |
570 |
615 |
1,185 |
467 |
 |
|
5 |
|
หนองหลวง |
397 |
429 |
826 |
258 |
|
 |
6 |
|
บึงบอน |
613 |
607 |
1,220 |
356 |
 |
|
7 |
|
บึงจำกา |
224 |
221 |
445 |
146 |
|
 |
8 |
|
หนองนา |
422 |
433 |
855 |
268 |
 |
|
9 |
|
หนองตะเคียน |
313 |
298 |
611 |
221 |
|
 |
10 |
|
บึงพิง |
390 |
410 |
800 |
258 |
 |
|
11 |
|
ใหม่คลองเจริญ |
267 |
273 |
540 |
148 |
|
 |
12 |
|
ท่าไม้งาม |
157 |
170 |
327 |
92 |
 |
|
13 |
|
หนองโพง |
161 |
126 |
287 |
80 |
|
 |
14 |
|
หนองปลวก |
510 |
569 |
1,079 |
437 |
 |
|
15 |
|
มณเฑียรทอง |
229 |
195 |
424 |
133 |
|
 |
16 |
|
ห้วยน้ำเย็น |
260 |
267 |
527 |
184 |
 |
|
17 |
|
ปลายนา |
410 |
456 |
866 |
360 |
|
 |
18 |
|
เกาะก่าง |
451 |
435 |
886 |
247 |
 |
|
19 |
|
ห้วยใหญ่ |
154 |
155 |
309 |
89 |
|
 |
20 |
|
หนองคต |
134 |
144 |
278 |
76 |
 |
|
21 |
|
หนองชุมแสง |
125 |
152 |
277 |
91 |
|
 |
22 |
|
หนองกุลาใต้ |
276 |
254 |
530 |
147 |
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
รวม |
7,182 |
7,333 |
14,515 |
4,821 |
 |
|
|
ข้อมูลจากสำนักทะเบียนราษฎร์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 |
|